นายหน้าขายบ้าน กับคำถามเรื่องราคาประเมินแบงก์
โดยทั่วไป ในการอนุมัติสินเชื่อ ธนาคารพิจารณาอยู่ 2 ส่วนหลักๆด้วยกัน คือ 1. ส่วนของตัวบ้านหรือตัวอสังหาริมทรัพย์ที่เราซื้อ และ 2. ส่วนของผู้ขอสินเชื่อ กล่าวคือ แม้ธนาคารจะมีราคาที่เป็นฐานข้อมูลของเขาเอาไว้ว่าบ้านในนี้ลักษณะแบบนี้หรือในหมู่บ้านนี้เคยปล่อยสินเชื่อไปแล้วเป็นราคาโดยประมาณเท่าไร แต่เพื่อเป็นการสอบทานอีกที เพราะบ้านแต่ละหลังมันมีองค์ประกอบของปัจจัยต่างๆที่ไม่เหมือนกัน เมื่อมีลูกค้ามาขอสินเชื่อธนาคารก็จะมอบหมายงานให้บริษัทประเมินออกมาทําการประเมินราคาบ้านหลังนั้น
สิ่งที่บริษัทประเมินทำก็คือ การออกมาประเมินตัวบ้าน เช่น ดูสภาพบ้าน การต่อเติม สิ่งแวดล้อม ทำเล และนำข้อมูลเหล่านี้ไปบันทึกเป็นคะแนน รวมทั้งเช็คราคาตลาดเพิ่มเติมด้วย ราคาตลาดหมายถึงราคาที่มีการซื้อขายบ้านในลักษณะเดียวกัน ในโครงการเดียวกันหรือโครงการใกล้เคียงเพื่อเอามาที่จะมาสอบเทียบกันนะคะ เมื่อบริษัทประเมินส่งราคาที่เขาประเมินเข้าไปให้ทางแบงก์ ซึ่งแบงก์ก็ จะมาเทียบอีกทีกับฐานข้อมูลที่เขามีอยู่อันนี้คือส่วนที่หนึ่ง
ส่วนที่ 2. ซึ่งเป็นส่วนสําคัญ ก็คือตัวผู้กู้ เอง โดยแบงก์พิจารณาจาก Profileของผู้กู้ ก็คือรายได้ที่ผู้กู้ได้รับหักกับภาระหนี้สินต่างๆ รวมถึง วินัย ในการใช้เงิน หลักๆ คือ แบงก์ดูความสามารถในการจ่ายของผู้กู้ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องภาระในการผ่อนสังหาริมทรัพย์ การใช้จ่ายด้วยบัตรเครดิต การเก็บออม ต่างๆ เมื่อแบงก์ได้ข้อมูลทั้งสองส่วนคือ ราคาประเมินของทรัพย์ แล้วก็ ความสามารถของผู้กู้ แบงก์เขาก็จะอนุมัติจากมูลค่าที่ต่ำกว่า
ข้อแนะนําก็คือเมื่อเวลาที่เราต้องการจะซื้อบ้าน เราควรที่จะเตรียมตัวเองให้พร้อม ฝึกซ้อมกู้ไว้ก่อน โดยพิจารณาว่า บ้านหนึ่งล้านบาทจะต้องใช้เงินผ่อนโดยประมาณหกถึงเจ็ดพัน ภาระหนี้ทั้งหมด ไม่ควรเกิน 50% ของรายได้
สรุปวันนี้ในการที่จะถามว่าบ้านหลังนี้ประเมินได้เท่าไร ลินในฐานะ นายหน้าขายบ้าน อยากให้เรากลับ มาดูที่ตัวเราก่อนว่า ถ้าเราใช้หลักพื้นฐานโดยทั่วๆไปแบบนี้ ตัวเราเองน่ะมีความสามารถในการที่จะผ่อนบ้านเหล่านั้นไหวมากน้อยแค่ไหน เราก็ควรจะหาบ้านที่มันอยู่ในราคาที่ผ่อนได้ นี่คือหลักในการเลือกซื้อบ้านที่ถูกต้องค่ะ ยุคนี้ การขอกู้เพื่อให้ได้เงินเกินออกมา ไม่ใช่เรื่องง่าย